top of page
สมุนไพรไทย - สมุนไพรมีดี
สมุนไพรไทย ที่สุดแห่งภูมิปัญญาที่ได้รับสืบทอดต่อกันมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ให้เราได้พัฒนา ศึกษาสรรพคุณ เพื่อปรับใช้ให้เหมาะสมกับยุคสมัย มาเรียนรู้เคล็ดไม่ลับ สุขภาพดีของบรรพบุรุษกับ - สมุนไพรมีดี -
สมุนไพรใกล้ตัว/สรรพคุณ
ความรู้พื้นบ้าน
สรรพคุณสมุนไพร
แบ่งตามกลุ่มอาการ
- กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลาก
- กลุ่มพืชหอม เป็นยาบำรุงหัวใจ
- กลุ่มยาถ่าย
- กลุ่มยาแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- กลุ่มยาแก้บิด ท้องเดินท้องร่วง โรค
กระเพาะ
- กลุ่มยาขับเสมหะ แก้ไอ
- กลุ่มยาแก้ไข้ ลดความร้อน
- กลุ่มยาแก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุง
ธาตุ
- กลุ่มยาแก้อาเจียน
- กลุ่มยาขัลปัสสาวะ
- กลุ่มยาขับน้ำนม
- กลุ่มยากล่อมประสาท ทำให้นอนหลับ
- กลุ่มยากันหรือแก้เลือดออกตามไรฟัน
- กลุ่มยาลดความดันโลหิตสูง
- กลุ่มยารักษาริดสีดวงทวาร
- กลุ่มยาแก้ปวดฟัน
- กลุ่มสมุนไพรแก้มะเร็ง
- กลุ่มพืชถอนพิษ
- กลุ่มยาแก้โรคเรื้อน
- กลุ่มยารักษา เหา หิด
- กลุ่มยารักษาโรคน้ำกัดเท้า
- กลุ่มยารักษาหูด
- กลุ่มสมุนไพรไล่ยุงหรือฆ่าแมลง
- กลุ่มยาขับประจำเดือน
- กลุ่มยารักษาเบาหวาน
- กลุ่มสมุนไพรแก้ฟกช้ำ ปวดข้อ เส้น
พิการ
- กลุ่มรักษาตา คางทูม แก้ปวดหู
- สมุนไพรให้สีแต่งอาหาร
สมุนไพร/สรรพคุณ
สำหรับการแพทย์ดั้งเดิมของสังคมไทยมีพัฒนาการนับเนื่องจากอดีตสู่ ปัจจุบัน ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในยุคประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์มีประสบการณ์ใช้ยาสมุนไพรที่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในยุครัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 มีการรวบรวมตำราสมุนไพรในการรักษาเด็กและผู้ใหญ่ วิธีปรุงยาและวิธีใช้ยาสมุนไพรอย่างละเอียด และจารึกในแผ่นศิลาตามศาลารายของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) สมุนไพรที่จารึกมีจำนวนกว่า 1,000 ชนิด และรัชกาลที่ 5 ทรงฟื้นฟู รวบรวมและชำระตรวจสอบคำภีร์แพทย์ และมีการจัดพิมพ์ตำราชื่อ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ (ฉบับหลวง) ขึ้นเพื่อใช้ในการศึกษา และบำบัดโรคสำหรับแผนโบราณขึ้น ในระยะเดียวกันการแพทย์แบบตะวันตกได้เข้าสู่สังคมไทย และได้รับการส่งเสริมจากรัฐมากขึ้นทำให้ประชาชนยอมรับ และนิยมการแพทย์แบบตะวันตกในระยะต่อมา อย่างไรก็ตามความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อสมุนไพรมิได้ถูกละทิ้งประสบการณ์ การใช้สมุนไพรได้รับการเรียนรู้ และการถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นต่อมา วัฒนธรรมการรักษาโรคความเจ็บป่วยด้วยสมุนไพรยังดำรงอยู่ในสังคมไทยจนถึง ปัจจุบัน และสมุนไพรในการพัฒนาสังคมไทยในหลายมิติ คือ
1.คุณค่าด้านการแพทย์และสาธารณสุข ความหมายของสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2522 คือ สมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ และแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ปรุง และแปรสภาพสมุนไพร เป็นสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ด้านการแพทย์ และสาธรณสุขประชาชนไทยบริโภคสมุนไพรใน 3 รูปแบบคือ สมุนไพรจากแหล่งธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำเร็จรูปและยาแผนโบราณ ใน พ.ศ. 2529 สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้สำรวจเกี่ยวกับสวัสดิการอนามัยและการใช้ยาแผนโบราณ พบว่าประชากรไทยใช้ยาแผนโบราณ หรือสมุนไพรไทยในการบำบัดรักษาโรค ยาสมุนไพร และยาแผนโบราณเหล่านี้ประชากรคุ้นเคย เชื่อถือ และนิยมในสรรพคุณการรักษาโรค ยาแผนโบราณที่ประชาชนนิยมใช้กันคือ ยาหอม ยานัตถุ์ ยาบำรุงโลหิต ยาระบาย ยาแก้ร้อนใน และยาแก้ไอ นับได้ว่าประชาชนไทยจำนวนไม้น้อยยังมีการใช้สมุนไพรเพื่อสุขภาพและการแก้ไข ปัญหาสาธารณสุข
2.คุณค่าด้านเศรษฐกิจ สมุนไพรเป็นทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ และมีฐานะเป็นวัตถุดิบพื้นบ้านของอุตสาหกรรมยาแผนโบราณ แหล่งผลิตยาแผนโบราณที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงสาธารณสุขมีจำนวนมาก ตำรายาแผนโบราณเหล่านี้ใช้สมุนไพรกว่า 1,000 ชนิด โดยผลิตในหลายรูปแบบ เช่น ยาเม็ด ยากวน ยาแผ่น เป็นต้น กรรมวิธีผลิตยาแผนโบราณทำตามวิธีการที่สืบทอดกันมา อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยาแผนโบราณมีอุปสรรคสำคัญคือ อุปสรรคด้านกฎหมายที่ปิดกั้นการพัฒนายาแผนโบราณและปัญหาด้านวัตถุดิบสมุนไพร เนื่องจากพื้นที่ป่าธรรมชาติถูกทำลายและลดลง อีกทั้งการปลูกสมุนไพรยังไม่กว้างขวาง จึงทำให้วัตถุดิบบางชนิดหายาก ขาดแคลน หรือบางชนิดต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มูลค่าการบริโภคยาแผนโบราณของประชาชนมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ได้นำงานวิจัยสมุนไพรเดี่ยวมาพัฒนาเทคโนโลยีในระดับอุสาหกรรมการผลิตยาจาก สมุนไพรภายในประเทศด้วย ในรูปแบบที่ทันสมัยต่างๆ อุตสาหกรมยาจากสมุนไพรเหล่านี้อาศัยวัตถุดิบสมุนไพร และเทคโนโลยีภายในประเทศ อันเป็นการพัฒนาศักยภาพของอุตสาหกรรมยา และพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริง
3.คุณค่าด้านนิเวศวิทยา ระบบนิเวศของโลกที่สลับซับซ้อนประกอบด้วยพรรณพืชที่มีหลากหลาย พรรณพืชเหล่านี้เป็นพื้นฐานสำหรับยารักษาโรค สีย้อม น้ำหอม เครื่องปรุงรสและแต่งสีสมุนไพรเหล่านี้มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจและสังคมสามในสี่ ของประชากรโลกยังคงใช้พืชสมุนไพรจากป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา
4.คุณค่าด้านการเกษตรกรรม ภาวะปัจจุบันการเกษตรแบบอุตสาหกรรม ซึ่งใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงจำนวนมาก สร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของผู้บริโภคอย่างมาก วงการเกษตรกรรมของสังคมไทยต้องการทางออกเพื่อการแก้ปัญหาเหล่านี้ สมุนไพรส่วนหนึ่งมีสรรพคุณในการช่วยกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชและช่วยรักษา โรคของพืชได้ ดังนั้นสมุนไพรจึงมีคุณค่าต่อด้านเกษตรกรรมและต่อผู้บริโภคโดยตรง เพราะผลผลิตที่ได้จะปราศจากพิษภัยจากสารเคมีทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค พืชสมุนไพรที่ใช้ทดแทนสารเคมีที่ใช้ยาฆ่าแมลง เช่น สะเดา ตะไคร้หอม ข่า ดาวเรือง เป็นต้น
5.คุณค่าแห่งภูมิปัญญา และวัฒนธรรม การใช้สมุนไพรแก้ปัญหาความเจ็บไข้ได้ป่วยที่นับเป็นภูมิปัญญาอันทรงคุณค่า ที่บรรพบุรุษได้ลองผิดลองถูกค้นคว้าวิจัยตามธรรมชาติเหนือสิ่งอื่นใด บรรพบุรุษได้ใช้ชีวิตเลือดเนื้อแทนห้องปฎิบัติการ จนกระทั่งสั่งสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์มาจนถึง ปัจจุบัน องค์ความรู้เหล่านี้มีทั้งส่วนที่มิได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ตำราใบลาน สมุดข่อย จารึก การบันทึก ในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนังหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่นๆ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงภูมิปัญญาอันชาญฉลาดที่มุ่งแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บ โดยมิได้ลืมการสั่งสอนอบรมให้ตั้งต้นอยู่ในความดีความงามตามแนวทางของ พระพุทธศาสนาอันเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ
สมุนไพรนับว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติอย่างแท้จริง สมุนไพรก่อเกิดตามธรรมชาติ และพัฒนาคู่เคียงกับการแสวงหาทางออกในด้านสุขภาพของมนุษย์ สมุนไพรมีความหมาย และทรงคุณค่าหลายมิติแตกต่างกันไปตามยุคสมัยของสังคมโลก และสังคมไทย แม้โลกยุคใหม่จุพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ยาแผนใหม่จากสารเคมีหลายชนิดได้เข้ามาแทนที่สมุนไพรมิใช่ว่าจะทดแทนคุณค่า ของสมุนไพรที่มีอยู่ได้ดีคุณค่าของสมุนไพรกำลังได้รับความสำคัญ และพัฒนาให้เป็นระบบครบวงจร อันทำให้สมุนไพรมีคุณค่าในการพัฒนาสังคมไทยได้หลายมิติ และอย่างยั่งยืนในอนาคต
อ้างอิงจาก : http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/index.html
bottom of page